วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ศิลปะคืออะไร

สาระสำคัญ

ศิลปะ เป็นผลผลิตที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ได้ถ่ายทอดรูปแบบออกมาเป็นผลงานศิลปะแขนงต่างๆ ผ่านกระบวนการทางความคิด ความต้องการจากแรงกระตุ้นสิ่งเร้าภายนอก ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของศิลปิน ได้สร้างสรรค์ผลงาน โดยการบูรณาการโครงสร้าง ส่วนประกอบของศิลปะ วัสดุ และเทคนิคกลวิธี ในการถ่ายทอดรูปแบบ คำนึงถึงหลักของการจัดองค์ประกอบศิลป์ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณค่าทางความงาม


สาระการเรียนรู้

ศิลปะ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสนองความต้องการของตนเองและสังคมมีคุณค่าทางความงาม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึงความหมายของศิลปะ คือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงออกให้ปรากฏขึ้น ได้อย่างงดงามน่าพึงชมและเกิดอารมณ์สะเทือนใจ
พจนานุกรมศัพท์ศิลปะอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ART ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ ของมนุษย์ ที่แสดงออกในรูปลักษณะต่างๆให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยะภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคนเพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิด

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดเป็นการนำตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จาก 3 สาระ 6 มาตรฐาน จำนวน 27 ตัวชี้วัด มาวิเคราะห์รายตัวชี้วัดใน 4 ประเด็น คือ ตัวชี้วัดแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงานและภาระงาน และแนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่ละประเด็นจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด

องค์ประกอบศิลป์

ความนำ
ความเป็นศิลปะหรือสิ่งใดที่จะเรียกว่าเป็นงานศิลปะหรืองานออกแบบจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบของศิลปะอย่างครบถ้วน ส่วนวิธีการที่จะสร้างสรรค์ผลงานขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ ความไวในการรับรู้เชิงสุนทรียะการตัดสินใจในการออกแบบ ทักษะและความชำนาญในการสร้างสรรค์ ความถนัดเฉพาะตัวเป็นต้น เมื่อนักศึกษาได้เรียนบทเรียนนี้แล้ว นักศึกษาจะได้มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถทางศิลปะและการออกแบบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการออกแบบกิจกรรมศิลปะในชั้นเรียน การวิจารณ์งานศิลปะและการประเมินผลงานศิลปะเด็ก

องค์ประกอบของศิลปะ

องค์ประกอบ หมายถึงส่วนย่อยต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกันเข้าให้เป็นส่วนรวม เช่นร่างกายของคนเราก็ต้องประกอบด้วยลำตัว ศีรษะ แขน ขา ฯลฯ เป็นองค์ประกอบของร่างกาย ในทางศิลปะ องค์ประกอบศิลป์ก็คือการนำเส้น สี แสง เงา น้ำหนัก ฯลฯ มาประกอบกันเข้าให้มีความงาม ความกลมกลืน และการประสานกันอย่างมีเอกภาพ
องค์ประกอบของศิลปะ แต่ละหน่วยหรือแต่ละอย่างจะมีลักษณะของตัวเอง มีคุณสมบัติอยู่ในตัว เช่นเดียวกับส่วนประกอบของอาหารแต่ละอย่าง เมื่อนำเอามาประกอบกันเข้าอย่างได้สัดส่วนที่ดี ย่อมมีความกลมกล่อม อาหารก็อร่อยถึงขั้น “รสโอชา”
การจัดองค์ประกอบศิลปะเป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะทุกแขนง ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ เพราะทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นล้วนแต่ประกอบด้วยส่วนประกอบย่อย ๆ เมื่อนำเอาส่วนประกอบเหล่านั้นมารวมเข้าด้วยกันก็จะบังเกิดผลแก่งานศิลปะนั้นๆ

จุดประสงค์ของการเรียนรู้

1. อธิบายความหมายเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์ได้
2. บอกส่วนประกอบต่างๆ ขององค์ประกอบศิลป์ได้
3. บอกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ได้

โครงสร้างของงานศิลปะ

โครงสร้างเกี่ยวกับงานศิลปะ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. เส้น (Line) หมายถึง จุดที่เรียงติดต่อกัน เกิดจาการลากขูด ขีด เขียนด้วยวัสดุต่างๆ ลงบนระนาบผิว ทำให้เกิดเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง เส้นเฉียง ฯลฯ สามารถให้ความรู้สึกทางตา คือการมองเห็น ก่อให้เกิดความรู้สึกที่มีความหมายต่างกัน เช่น แข็งกระด้าง อ่อนไหว เป็นต้น


2. รูปร่าง รูปทรง (Form & Shape) เกิดจากการประกอบกันของเส้น รูปทรงแบ่งออกเป็น ชนิด คือ
รูปทรงเรขาคณิต
รูปทรงธรรมชาติ
รูปทรงอิสระ

3. แสงและเงา (Light & Shadow) แสงและเงา ให้มองเห็นวัตถุต่างๆ เมื่อมองกระทบวัตถุที่จะเกิดส่วนมืดในทิศทางตรงข้ามกับแสง ก่อให้เกิดความรู้สึก ลักษณะแตกต่างกัน


4. บริเวณว่าง (Space) หมายถึง พื้นที่ว่างระหว่างวัตถุ สิ่งของที่วางโดยรอบบริเวณว่างสามารถกำหนดได้ทั้งในงานจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สามารถสร้างบรรยากาศให้เกิดความรับรู้ได้เป็นอย่างดี



5. สี (Color) คือ ลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาเราทำให้มองเห็นสีต่างๆ สีมีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ จากการใช้สายตาสัมผัส จากการใช้สีในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ก่อให้เกิดคุณค่าทางการรับรู้ที่แตกต่างกัน



6. ลักษณะผิว (Texture) เป็นความแตกต่างของผิวที่สัมผัสด้วยการมองเห็น ให้ความรู้สึกเรียบ ขรุขระ หยาบ ผิวมัน ด้าน ฯลฯ ในทางจิตรกรรมเป็นการสร้างภาพลวงตาด้วยลักษณะผิวที่แตกต่างกัน ในทางประติมากรรมเป็นความแตกต่างของพื้นผิว เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางความงาม ในทางสถาปัตยกรรม เพื่อเสริมสร้างความงาม หรือประโยชน์ใช้สอยตามความเหมาะสม



2. หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์มีสิ่งที่ควรคำนึง ดังนี้

2.1 เอกภาพ หมายถึง การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายไปคนละทิศทางทำให้ขาดประสานสัมพันธ์กัน ในทางทัศนศิลป์เอกภาพยังเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นเนื้อหาเรื่องราวที่ต้องการอย่างชัดเจนด้วย

2.2 สมดุล หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ให้มีความเหมาะสมไม่เอียงเอนไปข้างใดข้างหนึ่งของภาพ สมดุลมี แบบ คือ
  สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน เป็นลักษณะการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ที่ยึดถือความเหมือนกันทุกประการทั้ง ข้าง เช่น ความสมดุลของร่างกายมนุษย์ เป็นต้น
 สมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน เป็นสมดุลทางความรู้สึกในการมองเห็น โดยที่วัตถุหรือเนื้อหาในภาพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

2.3 จุดเด่นและการเน้น หมายถึง ส่วนสำคัญที่สุดของภาพที่ต้องการแสดง ซึ่งนำไปสู่การบอกเล่าเนื้อหาทั้งหมดของภาพหรือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มอง ในทางทัศนศิลป์จุดสนใจควรมีจุดเดียว ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่แสดงความสำคัญหรือมีสีสันสดใสที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเน้นให้เกิดจุดเด่นด้วยการสร้างความแตกต่างขึ้นในภาพ จุดเด่นไม่จำเป็นต้องอยู่กลางภาพเสมอไป อาจจะอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพก็ได้
2.4 ความกลมกลืน เป็นสิ่งสำคัญสุดท้ายของการจัดองค์ประกอบศิลป์ ซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะความกลมกลืนจะทำให้ภาพงดงาม และนำไปสู่เนื้อหาเรื่องราวที่นำมาเสนอ ความกลมกลืนมี แบบ คือ 
 -ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน
 -ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง
2.5 จังหวะ หมายถึง ระยะในการจัดวางของภาพหรือวัตถุ เช่น ลายไทย การปูกระเบื้อง การแปลอักษรเป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เส้นและสี


ตัวอย่างเส้นตรงแนวนอน

ตัวอย่างเส้นต่างๆ
วงจรของสีที่เราใช้กันเป็นส่วนใหญ่
สีส่วนใหญที่เราเลือกใช้ในชีวิตประจำวัน

ทักทายผู้ชม

สวัสดีค่ะ^-^ทุกคนที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของหนู^-^
บล็อกนี้ใช้สำหรับเรียนวิชาศิลปะเป็นการเรียนแบบผสมผสาน(blended  learning)ระหว่างการเรียนในห้องเรียนและการเรียนบนเว็บบล็อก

เส้น

เส้น เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย กำหนดไว้ว่ามีความยาวเท่ากับ 20 วา แต่เนื่องจากหน่วยเส้นนี้วัดจากหน่วยวา และระยะวาของแต่ละคนไม่เท่ากัน ระยะเส้นจึงอาจคลาดเคลื่อนไปได้มาก พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ จึงกำหนดให้ 1 เส้นยาวเท่ากับ 40 เมตรเป็นต้นมา (ซึ่งคงเท่ากับ 20 วา) และใช้อักษรย่อว่า สน.